โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับที่สูงผิดปกติ คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจไม่แสดงอาการ แต่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
อาการ
ความดันโลหิตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง
มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรือ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะความดันโลหิตสูงจึงได้รับการขนานนามว่า “ฆาตกรเงียบ”
ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง
ผู้ป่วยอาจเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นได้ เช่น เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะตุบ ๆ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น เครียด ไมเกรน
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
- อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะสูงมากขึ้น ความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงในเพศชายมักเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุ 64 ปีขึ้นไป และ 65 ปี ในเพศหญิง
- เชื้อชาติ ชาวแอฟริกัน – อเมริกัน มักจะมีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนผิวขาว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวายหรือไตวา
- ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงมักเกิดการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นผ่านทางพันธุกรรม
- โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากการมีน้ำหนักมากร่างกายก็ยิ่งต้องการเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น
- การใช้ชีวิตอยู่ประจำ ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าหัวใจทำงานหนักมากขึ้นในการหดตัวแต่ละครั้ง
- การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เพิ่มความดันโลหิตชั่วคราวในทันที แต่สารเคมีที่พบในยาสูบสามารถทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหายได้ ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบ แคบและมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควันบุหรี่มือสองจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น
- อาหารที่มีเกลือสูง อาหารที่มีโซเดียมสูงอาจส่งผลให้เกิดการคั่งของของเหลวทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
- อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำทำให้ร่างกายเก็บโซเดียมไว้ในเลือดมากเกินไป เนื่องจากโพแทสเซียมทำงานเพื่อปรับสมดุลของปริมาณโซเดียมในร่างกาย
- การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำลายหัวใจได้เมื่อเวลาผ่านไปและอายุเพิ่มมากขึ้นการที่ผู้หญิงดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าหนึ่งแก้วและผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวันอาจเป็นอีกสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง
- ความเครียด ระดับความเครียดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว
- โรคเรื้อรังบางชนิด โรคต่าง ๆ เช่น โรคไตเบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเพิ่มความดันโลหิตสูง
- การตั้งครรภ์ บางครั้งการตั้งครรภ์อาจเป็นอีกสาเหตุโรคความดันโลหิตสูงได้
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
หากพบว่าค่าความดันโลหิตผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้
- รับประทานอาหารและยาตามแพทย์สั่งและมาพบแพทย์ถ้ามีอาการผิด
- ปกติ แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดและปรับชนิดของยา
- หลีกเลี่ยงจากความเครียด
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาที
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือน้ำตาลมาก
- จำกัดปริมาณเกลือ
- งดสูบบุหรี่
- ตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนัก
- ตรวจวัดความดันโลหิตให้สม่ำเสมอ
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อาหารสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันทั้งเรื่องของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกอาหารที่ตามหลักโภชนาการ หรือปรับพฤติกรรมให้มีสุขภาพดี เช่น งดสูบบุหรี่ งดแอลกอฮอล์ ก็สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้
อาหารแดช (DASH, Dietary Approaches to stop hypertension) หรืออาหารช่วยลดความดันโลหิต เป็นแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อป้องกัน และช่วยควบคุมโรคความดันโลหิตได้
แหล่งข้อมูล: