โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร
โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร หมายถึง โรคที่อวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารมีการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจาก แบคทีเรีย และรองลงมาคือ เชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้ออื่นๆ ได้แก่ เชื้อปรสิต หรือโปรโตซัว โรคติดเชื้อทางเดินอาหารพบได้ทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ เพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเกิดได้เท่าๆ กัน พบได้ในทุกเชื้อชาติทั่วโลก
อาการของโรค
ปวดท้อง ไม่มีการปวดคงที่เฉพาะจุด มีอาการท้องเสีย ร่วมด้วย และมีไข้ที่อาจเป็นไข้ต่ำหรือไข้สูงขึ้นกับความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปอาการจะเกิดในทันที เรียกว่า การติดเชื้อเฉียบพลัน (Acute infection) หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
คลื่นไส้ อาเจียน
อุจจาระมีกลิ่นเหม็น
อุจจาระอาจเป็นมูก หรือ เป็นมูกปนเลือด/มูกเลือด หรืออาจมีอุจจาระเป็นเลือด
ปวดเบ่งเวลาอุจจาระ
ถ้าท้องเสียรุนแรงจะมีอาการจากภาวะขาดน้ำร่วมด้วย เช่น กระหายน้ำมาก ผิวหนังแห้ง/เหี่ยวย่น ปากแห้งมาก ปัสสาวะน้อย และ วิงเวียน เป็นลมจากความดันโลหิตต่ำ
ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร?
ผู้มีปัจจัยเสี่ยง(High risk group)เกิดโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ได้แก่
เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ เพราะดูแลสุขอนามัยตนเองไม่ได้ ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยดูแล
ผู้อยู่ในชุมชนแออัด เช่น โรงเรียน สถานพักพิง ค่ายทหาร ค่ายผู้อพยพ อยู่อาศัยในชุมชนแออัด อยู่อาศัยในถิ่นที่ขาดสุขอนามัย เช่น ประเทศกำลังพัฒนา
ผู้มีโรคประจำตัว เพราะจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเบาหวาน โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคติดเชื้อเอชไอวี
สัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้
วิธีการรักษา
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและโภชนาการ ได้แก่ รับประทานอาหารตรงเวลาทุกมื้อ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- งดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
- ไม่เครียดหรือวิตกกังวล และพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ
- ไม่ซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่คือชนิดของมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ใหญ่ (หรือที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่โคลอน) และอยู่ส่วนปลายสุดของระบบทางเดินอาหาร บางครั้งถูกเรียกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colorectal cancer) เนื่องจากเกิดมะเร็งขึ้นที่ลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเป็นได้ทุกวัย
ลักษณะอาการ
พฤติกรรมในการขับถ่ายที่ผิดแปลกไปจากปกติ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก หรือถ่ายบ่อยครั้งขึ้น
พบว่ามีเลือดปนมากับอุจจาระ
มีอาการท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด หรือมีก๊าซในกระเพราะอาหาร
มีความรู้สึกปวดเบ่ง หรือเกิดความรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด
รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การรักษา
ผ่าตัด
การรักษาด้วยเคมีบำบัด
การใช้รังสีรักษา
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
การดูแลแบบประคับประคอง - คือโปรแกรมการดูแลส่วนบุคคลที่มุ่งเน้นการลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยจากการรักษา
แหล่งข้อมูล:
เรียบเรียงโดย:
ABBRA Company Limited,
206 Soi Phahonyothin 14 , Phahonyothin Road , Samsennai Sub Dist. , Phayathai Dist. , Bangkok 10400
T: 02-106-8981 FB : ABBRALife , Line ID : ABBRALife