โรคเบาหวาน เกิดขึ้นได้เพราะสาเหตุอะไรบ้าง

940 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Diabetes Mellitus

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ บางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนแล้ว อาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย  มีอาการชา โดยเฉพาะมือและขา บาดแผลหายยาก

ชนิดของโรคเบาหวาน

  1. เบาหวานชนิดที่ 1 – เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน
  2. เบาหวานชนิดที่ 2 – เกิดจากภาวะการลดลงของการสร้างอินซูลิน ร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน และมักเป็นกรรมพันธุ์
  3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ – เบาหวานชนิดนี้เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหายไปได้หลังคลอดบุตร แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต

กลุ่มเสี่ยง

  • อ้วน
  • อายุมากกว่า 40 ปี
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • เมื่อทดสอบความทนต่อน้ำตาล (กลูโคส) ด้วยการดื่มกลูโคส 75 กรัมแล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสอยู่ในช่วง 140-199 มก./ดล.
  • มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงและระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
  • มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน

วิธีรักษา

  1. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการออกกำลังกาย และการลดน้ำหนักหากน้ำหนักเกินกว่าปกติ
  2. การใช้ยา แพทย์จะสั่งใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีทั้งในรูปแบบรับประทานและยาฉีดเข้าผิวหนัง

วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน

  • การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ลดอาหารที่มีรสหวานจากน้ำตาล เลือกอาหารที่มีไขมันและแคลอรีต่ำ มีใยอาหารสูง เน้นผลไม้ ผัก และธัญพืชไม่ขัดสี
  • การป้องกันไม่ให้ขาดวิตามินและแร่ธาตุ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้
  • ตั้งเป้าออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลางถึงหนัก 150 นาทีขึ้นไปต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน วิ่ง หรือว่ายน้ำ
  • ลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักทำให้การดำเนินโรคจากภาวะก่อนเป็นเบาหวานเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ช้าลง การลดน้ำหนัก 7% ถึง 10% ของน้ำหนักตัวสามารถลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้
  • หลีกเลี่ยงการนั่งนิ่งๆ เป็นเวลานาน พยายามลุกขึ้นเดินทุก ๆ 30 นาทีและเคลื่อนไหวอย่างน้อยสองสามนาที เป็นต้น
  • ควรหลีกเลี่ยงความหวานจากสารทดแทนความหวาน เพราะถึงแม้จะควบคุมน้ำตาลได้จริง แต่จะทำให้ติดหวาน และอยากกินของหวานเท่าเดิม หรือมากขึ้น

แหล่งข้อมูล:

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้