2335 จำนวนผู้เข้าชม |
การใยอาหาร หรือ ไดเอทารี่ไฟเบอร์ (Dietary Fiber) คือส่วนประกอบที่เป็นกากอาหารของพวกพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช และเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ซึ่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ของมนุษย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ ดังนั้นจึงถูกขับออกมากับอุจจาระ ใยอาหารไม่ใช่สารอาหาร จึงไม่มีพลังงาน แต่มีประโยชน์กับร่างกายของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ข้อควรระวังในการบริโภคใยอาหาร
วิธีในการทานใยอาหารในแต่ละวัน
ปริมาณใยอาหารที่ควรได้รับต่อวัน :
กลุ่มผู้บริโภค | ปริมาณโปรตีนที่ต้องการ |
ผู้ใหญ่ (อายุ 20 ปี ขึ้นไป) | ประมาณ 25 กรัมต่อวัน |
เด็ก | จำนวนอายุ (ปี) + 5 เช่น ปริมาณใยอาหารที่เด็กอายุ 5 ปี ควรได้รับ คือ 5 + 5 = 10 กรัมต่อวัน |
เส้นใยอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรารู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยสลาย ดูดซึม และค่อยๆปล่อยพลังงานออกมา แต่การกินอาหารที่ขาดเส้นใย ทำให้รู้สึกไม่อิ่มท้อง ยังคงหิว และต้องหาขนมนมเนยมากินเพิ่มอีก ดังนั้น เมื่อกระเพาะเริ่มแสดงอาการเรียกร้องอาหาร หลังจากเพิ่งกินเสร็จแค่ 1-2 ชม. มันคือสัญญาณเตือนว่า บางทีเราอาจไม่ได้กินเส้นใยอาหารเพียงพอ
อาการท้องผูกหรือแน่นท้อง หรือถ่ายผิดปกติ เนื่องจากเส้นใยอาหารเป็นตัวช่วยทำให้อาหารที่ย่อยแล้ว เคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ไหลลื่นสะดวก เส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขับถ่ายได้ง่าย ในทางกลับกัน การที่ร่างกายขาดเส้นใยอาหาร จะทำให้อาหารที่ย่อยแล้วตกค้างอยู่ในลำไส้ จนเกิดอาการท้องผูก แน่นท้อง แต่ข้อควรระวังคือ ควรกินเส้นใยอาหารเพิ่มทีละน้อย เพราะหากกินมากเกินไปในคราวเดียว อาจทำให้ท้องอืดและเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
การกินเส้นใยอาหารเป็นประจำ อาจช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะมันจะทำให้รู้สึกอิ่ม และจำกัดการพุ่งขึ้นของน้ำตาลและอินซูลินในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
ถ้าหากมีระดับโคเลสเตอรอลสูง การกินเส้นใยอาหารเพิ่มขึ้นอาจช่วยให้ลดลงได้ เนื่องจากเส้นใยอาหารจะช่วยลดไตรกีเซอไรด์ (ตัวเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ) และเพิ่ม HDL (ไขมันดี)
ฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำตาลในกระแสเลือด และจะทำงานได้ดีเมื่อร่างกายค่อยๆหลั่งออกมา เมื่อเรากินอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและเส้นใยอาหาร อาทิ ธัญพืชไม่ขัดสี ร่างกายจะใช้เวลาย่อยสลายนานขึ้น ค่อยๆหลั่งอินซูลิน เพื่อรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และปล่อยพลังงานออกมาอย่างต่อเนื่องและคงที่
แหล่งของใยอาหาร
ชนิดอาหาร | ปริมาณใยอาหาร |
สำหรับแหล่งอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ได้แก่ สะเดา แครอท งา กระเจี๊ยบเขียว ผักหวาน ผักบุ้งไทย ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว เมล็ดทานตะวัน ใบกุยช่าย ใบชะพลู แพร ฝรั่ง แอปเปิล เป็นต้น | ปริมาณของเส้นใยอาหารมากกว่า 3 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม |
แหล่งอาหารที่มีเส้นใยปานกลาง หรือ เช่น กะหล่ำปลี ข้าวโพดต้ม ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ตำลึง มะละกอ น้อยหน่า พุทรา เป็นต้น | 1-3 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม |
แหล่งอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อย เช่น ข้าวขาว กล้วย ขนุน ชมพู่ แตงกวา แตงโม แตงไทย ลิ้นจี่ มะม่วง มะปราง ละมุด ลำไย ส้ม องุ่น เป็นต้น | น้อยกว่า 1 กรัม ต่ออาหาร 100 กรัม |
แหล่งที่มา:
ระเบียบ วาจานนท์ “กากหรือเส้นใยอาหาร” โภชนาการสาร 15 2 ฉบับเดือนเม.ย.-มิ.ย.
Bonnie Liebman, “Plant for Supper? 10 Reasons to eat more like a vegetarian”, Nutrition Action Health Utter, Oct 1996, www. Cspinet.org
CSPI Report; International Foods, Public Health Born on 21st Century Quackery? Table 9, www.cspinet.org
เอกสารวิชาการ เรื่อง ใยอาหารสำคัญอย่างไรกับร่างกายโดยศูนย์เบาหวานศิริราช (Siriraj Diabetes Center; SiDC)คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโดย น.ส.ศรีวรรณ ทองแพง นักวิชาการโภชนาการ ศูนย์เบาหวานศิริราช และ อ.ศรีสมัย วิบูลยานนท์ (ที่ปรึกษา) นักโภชนาการชำนาญการอาวุโส ศูนย์เบาหวานศิริราช
เว็บไซด์ โรงพยาบาลเปาโล www.paolohospital.com บทความเผยแพร่ เรื่อง Fiber ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ดีต่อลำไส้ วันที่15/12/2563 -โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
เว็บไซต์ https://society.wefitnesssociety.com
หน่วยโภชนศาสตร์และศูนย์วิจัยโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ดร.นพ. ประสงค์ เทียนบุญ). “ใยอาหาร”
ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์. “Dietary fiber / เส้นใยอาหาร”